เทคนิคการใช้เลนส์ เทคนิคการใช้รูรับแสง เทคนิคการควบคุมความเร็วชัตเตอร์ (SHUTTER SPEED) การใช้โหมดวัดแสง เทคนิคการใช้กฎสามส่วน เทคนิคการใช้ FOREGROUND เทคนิคการใช้กรอบและรูปทรง เทคนิคถ่ายภาพฉากหลังโบเก้ (BOKEH) …
4/3 Moments catcher
-
-
การถ่ายภาพทิวทัศน์มักจะเป็นปัญหาในเรื่องของการไม่รู้จะวางพื้นที่สำคัญของภาพอย่างไร จนภาพที่ถ่ายออกมาดูโล่ง ไร้ความน่าสนใจ การใช้ “กฏสามส่วน” จะช่วยวางสัดส่วนภาพให้พอดีจนดูน่าสนใจ สิ่งที่ควรรู้ : ขอสำคัญในการถ่ายภาพทิวทัศน์ทั่วไปที่ ปรากฏเส้นขอบฟ้าหรือเส้นตัดต่างๆปรากฏในภาพจะต้องค่อยดูไม่ให้เกิดการเอียงไม่เท่ากัน โหมดที่ใช้ : ใช้ได้ทุกโหมด P, A (AV), S (TV), M เลนส์ที่เหมาะสม : เลนส์ช่วงกลางหรือเลนส์คิท เช่น 24-105 mm, 18-55 mm เป็นต้น แบบฝึกหัด : ให้แบ่งพื้นที่ช่องมองภาพหรือเฟรมภาพ ออกเป็น…
-
หลักการวัดแสงของกล้องถ่ายภาพ จะใช้หลักเทียบแสงพอดีที่ค่าเท่ากลาง 18 เปอร์เซ็นต์เป็นค่ากลางในการวัดแสง กล้องพยายามทำให้ทุกอย่างให้มีค่าเท่ากลาง จึงส่งผลต่อภาพถ่ายที่มีค่าแสงมากกว่าหรือน้อยกว่าค่าเท่ากลาง ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นและพบเจอ จนทำให้ภาพถ่ายออกมาไม่ได้แสงพอดีตามต้องการ กล้องถ่ายภาพจึงออกแบบระบบวัดแสงเพื่อใช้ตามสภาพแสงที่แตกต่างกัน สิ่งที่ควรรู้ : เรียนรู้การใช้โหมดวัดแสง 3 ระบบ ที่มีอยู่ในกล้อง เพื่อในการเลือกใช้โหมดวัดแสงที่เหมาะสมกับสถานณ์การที่แตกต่างกัน โหมดที่ใช้ : ใช้ได้ทุกโหมด P, A (AV), S (TV), M เลนส์ที่เหมาะสม : ทุกช่วงเลนส์เช่น 24-105 mm / 18-55mm เป็นต้น…
-
การเกิดโบเก้ คือการทำให้ฉากหลังที่เบลอจนหลุดจากระยะโฟกัส และเกิดการหักเหกับแสงบริเวณฉากหลัง จนเกิดเป็นดวงกลมแสงระยิบระยับจนดูแปลกตา การเกิดดวงโบเก้สามารถเกิดขึ้นได้จากแสงธรรมชาติและแสงไฟประดับ สิ่งที่ควรรู้ : การเกิดโบเก้ประกอบไปด้วย 3 ปัจจัยหลักคือ การเปิดรูรับแสงกว้าง เลนส์ทางยาวโฟกัสสูง และระยะวัตถุแบบที่ห่างจากฉากหลังมากที่สุด โหมดที่ใช้ : A (AV), M เลนส์ที่เหมาะสม : เลนส์ 50mm, 85mm, 200mm เป็นต้น แบบฝึกหัด : ให้ผู้เรียนกำหนดจุดที่จะถ่ายภาพที่ให้ฉากหลังเป็นดวงไฟประดับ จากนั้นให้นางแบบยืนห่างฉากหลังออกมา จากนั้นเลือกจัดองค์ประกอบระดับครึ่งตัวขึ้นไป ด้วยเลนส์ทางยาวโฟกัสสูงพร้อมกับเปิดรูรับแสงกว้างที่สุดเท่าที่เลนส์มี และตั้งกล้องบนขาตั้ง เพื่อลดการใช้ความไวแสง (ISO)…
-
รูรับแสงเป็นส่วนสำคัญในขบวนการถ่ายภาพ ทำหน้าที่ควบคุมแสงที่ผ่านเข้ามายังเลนส์และกระทบสู่เซ็นเซอร์รับภาพอีกที นอกจากนี้รู้รับยังส่งผลต่อความชัดลึกของภาพ (Depth of field) ที่ทำให้ภาพถ่ายมาความแตกต่างกัน ขนาดของรู้รับแสง เช่น (รูรับแสงกว้าง) f1.4,2.8,f4 เป็นต้น (รูรับแสงแคบ) f11, f16, f22 สิ่งที่ควรรู้ : เรียนรู้เรื่องการใช้รูรับแสง ซึ่งรูรับแสงที่แตกต่างกัน มีผลต่อความชัดลึกของภาพ รูรับแสงกว้าง จะให้ภาพที่ชัดตื้น รูรับแสงแคบจะทำให้ภาพชัดลึก โหมดที่ใช้ : A (AV), M เลนส์ที่เหมาะสม : เลือกช่วงเลนส์ในทางยาวโฟกัสเดียวกัน เช่น 50mm,…
-
การจัดองค์ประกอบภาพให้มีฉากหน้า จะช่วยดึงบังคับสายตาให้ผู้มองภาพมองตรงไปยังวัตถุแบบหลัก หรือบางครั้งความน่าสนใจก็เกิดขึ้นจากฉากหน้าโดยตรง การจัดองค์ประกอบภาพให้มีฉากหน้า จะช่วยดึงบังคับสายตาให้ผู้มองภาพมองตรงไปยังวัตถุแบบหลัก หรือบางครั้งความน่าสนใจก็เกิดขึ้นจากฉากหน้าโดยตรง สิ่งที่ควรรู้ : เรียนรู้การจัดองค์ประกอบด้วยการทำให้มีฉากน้า เพื่อทำให้ภาพมีมิติความลึก และยังช่วยให้ลดช่องว่างของขอบภาพและด้านหน้าที่ไม่น่าสนใจ …
-
การมีกรอบภาพจะส่วนให้บีบสายตาคนดูไปที่วัตถุแบบ และรูปทรงของวัตถุในภาพก็จะช่วยดูสายตาคนมองภาพได้เช่นกัน และกรอบ รูปทรงยังจะเป็นที่พึ่งให้นางแบบมีที่วางมือและโพสท่า สิ่งที่ควรรู้ : กรอบหรือรูปทรงที่นำมาเป็นองค์ประกอบจะต้องดูไม่ขัดกัน จนทำให้แบบดูด้อย และข้อสำคัญจะต้องระว่างมุมกล้องเอียงจนถูกฟ้องจากที่ทำให้กรอบและรูปทรงมีสัดส่วนเพี้ยนและเอียงปรากฏในภาพ โหมดที่ใช้ : A (AV), M เลนส์ที่เหมาะสม : เลนส์ช่วง 24mm, 35mm, 50mm, 85mm, 200mm เป็นต้น แบบฝึกหัด : ให้ลองจัดองค์ประกอบ โดยให้แบบเข้าไปอยู่ในแบบ ตามขนาดของกรอบที่มีรูปทรงต่างกัน ซึ่งได้ทั้งมุมซ้ายและขวา หรือจะใช้วิธีให้แบบเข้าไปนั่งอยู่ในกรอบ จะทำดูเป็นส่วนหนึ่งในกรอบภาพและกลมกลืมกับธรรมชาติ อยากถ่ายรูปเป็นในวันเดียว สนใจคอร์สเรียนถ่ายภาพ คลิ๊กเลย…
-
ความเร็วชัตเตอร์ทำหน้าที่กำหนดเวลาให้แสงลงบันทึกสู่เซ็นเซอร์รับภาพ ซึ่งเริ่มต้นมีหน่วยวัดเป็นวินาที เช่น 1 วินาที, 1/2, 1/8,1/30,1/60,1/200 เป็นต้น ยิ่งตัวเลขสูงยิ่งทำให้ชัตเตอร์ทำงานเร็ว นอกจากนี้ชัตเตอร์ยังส่งผลต่อการเคลื่องไหวของวัตถุแบบอีกด้วย สิ่งที่ควรรู้ เรียนรู้การใช้การความเร็วชัตเตอร์ ที่มีผลต่อการสั่นไหวของภาพและการเคลื่อนไหวของวัตถุแบบ โดยผู้เรียนสามารถฝึกการใช้และควบคุมความเร็วชัตเตอร์สูงและชัตเตอร์ต่ำ การใช้ Shutter Speed 1/4 sec การใช้ Shutter Speed 1/640 sec โหมดที่ใช้ : S (TV), M …
-
เลนส์ เป็นอุปกรณ์สำคัญ ทำหน้าที่ในการรวมแสงเพื่อส่งผ่านในการบันทึกภาพ และเลนส์ให้ผลของภาพที่แตกต่างกัน “เลนส์” เป็นอุปกรณ์สำคัญ ทำหน้าที่ในการรวมแสงเพื่อส่งผ่านในการบันทึกภาพ และเลนส์ให้ผลของภาพที่แตกต่างกันตามทางยาวโฟกัสที่ไม่เหมือนกัน เช่น เลนส์มุมกว้างหรือทางยาวโฟกัสสั้น จะทำให้มุมรับภาพที่กว้างกว่าเลนส์เทเลโฟโต้หรือเลนส์ทางยาวโฟกัสสูงส่งผลต่อขนาดและสันส่วนของวัตถุแบบในภาพ สิ่งที่ควรรู้ เรียนรู้ถึงความแตกต่างของระยะทางยาวโฟกัสของเลนส์ ที่ส่งผลต่อการจัดองค์ประกอบภาพ และอารมณ์ภาพที่แตกต่างกัน โหมดที่ใช้ ทุกโหมดถ่ายภาพ A (AV),S(TV),(TV) และ M เลนส์ที่เหมาะสม เลือกเลนส์ทางยาวโฟกัสที่กว้างและเลนส์ทางยาวโฟกัสที่แคบที่สุด เท่าที่คุณมี แบบฝึกหัด ให้ถ่ายภาพด้วยเลนส์ระหว่างเลนส์ทางยาวโฟกัสกว้าง(Wide Angle Lens) กับเลนส์ทางยาวโฟกัสแคบหรือสูง (Telephoto Lens)…